วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

ร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากล 2560 Google Doodle วันนี้

ร่วมฉลองสิ่งดีงามที่ผู้หญิงได้มอบให้แก่โลกและอนาคตของเรา "อย่ารอให้ใครมาพูดแทนคุณ เพราะคุณสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้" - มาลาลา ยูซาฟไซ
วันสตรีสากล
----------------------------
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันสตรีสากล (อังกฤษ: International Women's Day) เดิมเรียก วันสตรีแรงงานสากล (อังกฤษ: International Working Women's Day) มีการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ในแต่ละภูมิภาคความสนใจของการเฉลิมฉลองมีตั้งแต่การเฉลิมฉลองความนับถือ ความซาบซึ้งและความรักต่อหญิงสำหรับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของหญิงทั่วไป เริ่มแรกเป็นงานการเมืองสังคมนิยม แล้ววันหยุดนี้ก็กลืนวัฒนธรรมของหลายประเทศซึ่งส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มตะวันออก ในบางภูมิภาค วันดังกล่าวเสียรสทางการเมือง และกลายเป็นเพียงโอกาสสำหรับบุคคลในการแสดงความรักแก่หญิงในวิธีซึ่งคล้ายการผสมระหว่างวันแม่และวันวาเลนไทน์ ทว่า ในบางภูมิภาค แก่นการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติกำหนดยังมั่นคงอยู่ และความตระหนักทางการเมองและสังคมขอการต่อสู้ของหญิงทั่วโลกมีการเผยแพร่และพิจารณาด้วยความหวัง บางคนเฉลิมฉลองวันดังกล่าวโดยการสวมริบบิ้นสีม่วง



ประวัติวันสตรีสากล


ประวัติความเป็นมา ของ "วันสตรีสากล" เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ โดยเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1857 (พ.ศ. 2400)

จากนั้นในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ. 2450) กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก



ความอัดอั้นตันใจจึงทำให้คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจปลุกระดมเหล่ากรรมกรสตรีด้วยการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้การเรียกร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของคลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น


ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1910 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของคลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันสตรีสากล










Cr. วันสตรีสากล
https://th.wikipedia.org/wiki/วันสตรีสากล

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ร่วมระลึกถึงศิลปินแห่งชาติ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์


google doodle วันนี้ ร่วมระลึกถึงศิลปินแห่งชาติ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ 

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี วิกิพีเดีย
 

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

เกิดเมื่อ: พ.ศ. 2469
เสียชีวิตเมื่อ: 3 สิงหาคม 2558
 
ประวัติ

นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบุญมา และนางน้ำ วชิโรดม สำหรับชีวิตครอบครัว เพ็ญพรรณ สมรสกับนายแถมชัย สิทธิไตรย์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา มีบุตร - ธิดา 6 คน

1. นายภัทรศักดิ์ สิทธิไตรย์ 2. ศาสตราจารย์ดร.มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา สมรส กับม.ร.ว.พันธ์เทพสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คนคือ นายพลภัทร สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยาและม.ล.วรวงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ 3. ผ.ศ.ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ 4. นางพรรณรัตน์ ไชยสนิท สมรสกับ นายโกศล ไชยสนิท มีธิดา 1 คน คือ นางสาวเยาวลักษณ์ ไชยสนิท 5. นางจุฑารัตน์ ซีมองด์ สมรสกับ นายโคลด ซีมองด์ มีบุตร 1 คนคือ นายอักเซล ซีมองด์ 6. ร.ศ.นายแพทย์ พิชิต สิทธิไตรย์ สมรสกับ นางพัชรี สิทธิไตรย์

ผลงาน 1. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2552 2. บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทย พุทธศักราช 2554 คัดเลือกโดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 3. เกียรติบัตรผู้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานช่างแกะสลักผักผลไม้ ในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาพุทธศักราช 2557 นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เสียชีวิตด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 สิริอายุ 89 ปี
 
 

การศึกษา


นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์สำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูง จากโรงเรียนการช่างสตรี พระนครใต้ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2489 และได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สายมัธยมศึกษา สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูจันทรเกษม สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2533



ประวัติการทำงาน
นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ทำงานโดยการรับราชการเป็นครูมาตลอดชีวิตราชการ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โดยเริ่มต้นบรรจุที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสกลนคร ต่อมาใน พ.ศ. 2498 ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดตรัง และ โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสมุทรสงครามใน พ.ศ. 2502 ได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2505 ได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2510 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสุโขทัย และใน พ.ศ. 2529 ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี โชติเวช หรือในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช เป็นที่สุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ใน พ.ศ. 2530 สำหรับวิชาที่นางเพ็ญพรรณสอนนั้น เป็นวิชาศิลปะประดิษฐ์ ควบคู่ไปกับจริยศึกษา หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และสังคมศึกษา 


 
ผลงานการประดิษฐ์ที่สำคัญ

นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ถือว่าเป็นผู้มีผลงานแกะสลักเครื่องสด ผลงานที่สำคัญอันได้แก่ การซ่อมแซมเพดานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยปักลายผ้าตกแต่งเรือ และเรือในขบวนทั้งหมดในงานฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี และรับสนองพระบรมราชโองการประดิษฐ์ผักและแกะสลักผลไม้ในงานเลี้ยงรับรองราช อาคันตุกะจากต่างประเทศ และงานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตในวันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่พระบรมมหาราชวัง



ประดิษฐ์ดอกมะลิจากแห้วจำนวน 500 ดอก ในงานอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อปี 2528 และประดิษฐ์มะพร้าวอ่อน 250 ผลเป็นผอบ เพื่อส่งไปงานเลี้ยงพระราชทานที่สหรัฐ อเมริกา ในคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เสด็จฯ เผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมของไทย

มีตำแหน่งที่ปรึกษานิตยสารหญิงไทย เป็นคอลัมนิสต์ ศิลปะประดิษฐ์ ทั้งยังเป็นครูสอนศิลปะแกะสลักที่โรงแรมดังหลายแห่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งไทยและต่างชาติที่บินมาเรียนกันถึงที่บ้าน ทั้งยังเขียนตำรับตำราไว้มากมาย เช่น ศิลปะการแกะสลักผักและ ผลไม้ อาหารวิจิตรและแกะสลักวิจิตร ฯลฯ

นอกจากนี้ มีงานที่ตรึงใจอย่าง "โคมลอย พระราชพิธีจองเปรียง" รวมถึงสารา นุกรมไทยสำหรับ เยาวชน เล่มที่ 13 โดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
 
 

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ตะลึง! นาซ่า ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเท่าโลก 7 ดวง คาดมีสิ่งมีชีวิต

 ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเท่าโลก 7 ดวง


ทีมนักวิทยาศาสตร์ของนาซาเปิดเผยการค้นพบ ระบบดาวเคราะห์นอกสุริยจักรวาล ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงโลกถึง 7 ดวง โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียวกัน และอาจสภาพเหมาะสมแก่การมีสิ่งมีชีวิตด้วย...

 ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเท่าโลก 7 ดวง (trappist)
 
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของสถานีกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ‘สปิตเซอร์’ ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา เปิดเผยในวันพุธที่ 22 ก.พ. ว่า พวกเขาค้นพบระบบดาวเคราะห์แห่งแรกที่มีดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกของเราถึง 7 ดวง โคจรรอบดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวภาพแสดงระบบ แทรพพิสต์-1 ประกอบด้วยดาวฤกษ์ แทรพพิสต์-1 ตามด้วยดาวเคราะห์แทรพพิสต์-1 ไล่ตั้งแต่ บี ถึง เอช




นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยจักรวาลของเราทั้ง 7 ดวงล้วนมีโอกาสมีน้ำเหลวอยู่บนดาวหากมีสภาพชั้นบรรยากาศที่เหมาะสม อย่างไรตามดาวเคราะห์ 3 จาก 7 ดวงนี้ ได้รับการยืนยันว่าอยู่ใน เขตอาศัยได้ (habitable zone) หรือพื้นที่รอบดาวฤกษ์ในระยะที่เหมาะสมซึ่งดาวเคราะห์ที่อยู่ในพื้นที่นี้มีโอกาสที่จะมีน้ำเหลวอยู่บนดาวมากที่สุด ซึ่งเมื่อมีน้ำก็อาจมีสิ่งมีชีวิต

“การค้นพบครั้งนี้อาจเป็นชิ้นส่วนสำคัญในปริศนาของการค้นหาสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัย
อยู่ได้ สถานที่ซึ่งทำให้เกิดชีวิต” นายโธมัส เซอร์บูเชน รองผู้บริหารกรมภารกิจวิทยาศาสตร์(Science Mission Directorate) ของนาซา ในกรุงวอชิงตันกล่าว “การตอบคำถามที่ว่า‘เราอยู่อย่างเดียวดายในอวกาศ’ เป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์ และการพบดาวเคราะห์จำนวนมากในเขตอาศัยได้เป็นครั้งแรกเช่นนี้ เป็นการก้าวสำคัญเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น”



ภาพจำลองสภาพบนดาวเคราะห์ แทรพพิสต์-1เอฟ (f)

อ่านข่าวทั้งหมดแบบเต็มๆ >> ข่าวไทยรัฐ (ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบเท่าโลก 7 ดวง)