วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ร่วมระลึกถึงศิลปินแห่งชาติ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์


google doodle วันนี้ ร่วมระลึกถึงศิลปินแห่งชาติ เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ 

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2552 เป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี วิกิพีเดีย
 

เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์

เกิดเมื่อ: พ.ศ. 2469
เสียชีวิตเมื่อ: 3 สิงหาคม 2558
 
ประวัติ

นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของนายบุญมา และนางน้ำ วชิโรดม สำหรับชีวิตครอบครัว เพ็ญพรรณ สมรสกับนายแถมชัย สิทธิไตรย์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา มีบุตร - ธิดา 6 คน

1. นายภัทรศักดิ์ สิทธิไตรย์ 2. ศาสตราจารย์ดร.มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา สมรส กับม.ร.ว.พันธ์เทพสวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คนคือ นายพลภัทร สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยาและม.ล.วรวงศ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ 3. ผ.ศ.ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ 4. นางพรรณรัตน์ ไชยสนิท สมรสกับ นายโกศล ไชยสนิท มีธิดา 1 คน คือ นางสาวเยาวลักษณ์ ไชยสนิท 5. นางจุฑารัตน์ ซีมองด์ สมรสกับ นายโคลด ซีมองด์ มีบุตร 1 คนคือ นายอักเซล ซีมองด์ 6. ร.ศ.นายแพทย์ พิชิต สิทธิไตรย์ สมรสกับ นางพัชรี สิทธิไตรย์

ผลงาน 1. ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2552 2. บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทย พุทธศักราช 2554 คัดเลือกโดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 3. เกียรติบัตรผู้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานช่างแกะสลักผักผลไม้ ในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาพุทธศักราช 2557 นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ เสียชีวิตด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558 สิริอายุ 89 ปี
 
 

การศึกษา


นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์สำเร็จการศึกษาระดับวิชาชีพชั้นสูง จากโรงเรียนการช่างสตรี พระนครใต้ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2489 และได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป สายมัธยมศึกษา สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูจันทรเกษม สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2533



ประวัติการทำงาน
นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ทำงานโดยการรับราชการเป็นครูมาตลอดชีวิตราชการ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา โดยเริ่มต้นบรรจุที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสกลนคร ต่อมาใน พ.ศ. 2498 ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดตรัง และ โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสมุทรสงครามใน พ.ศ. 2502 ได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาใน พ.ศ. 2505 ได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2510 ย้ายไปสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี จังหวัดสุโขทัย และใน พ.ศ. 2529 ได้ย้ายมาสอนที่โรงเรียนการช่างสตรี โชติเวช หรือในปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตโชติเวช เป็นที่สุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ใน พ.ศ. 2530 สำหรับวิชาที่นางเพ็ญพรรณสอนนั้น เป็นวิชาศิลปะประดิษฐ์ ควบคู่ไปกับจริยศึกษา หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และสังคมศึกษา 


 
ผลงานการประดิษฐ์ที่สำคัญ

นางเพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ถือว่าเป็นผู้มีผลงานแกะสลักเครื่องสด ผลงานที่สำคัญอันได้แก่ การซ่อมแซมเพดานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยปักลายผ้าตกแต่งเรือ และเรือในขบวนทั้งหมดในงานฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี และรับสนองพระบรมราชโองการประดิษฐ์ผักและแกะสลักผลไม้ในงานเลี้ยงรับรองราช อาคันตุกะจากต่างประเทศ และงานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตในวันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่พระบรมมหาราชวัง



ประดิษฐ์ดอกมะลิจากแห้วจำนวน 500 ดอก ในงานอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อปี 2528 และประดิษฐ์มะพร้าวอ่อน 250 ผลเป็นผอบ เพื่อส่งไปงานเลี้ยงพระราชทานที่สหรัฐ อเมริกา ในคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ เสด็จฯ เผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมของไทย

มีตำแหน่งที่ปรึกษานิตยสารหญิงไทย เป็นคอลัมนิสต์ ศิลปะประดิษฐ์ ทั้งยังเป็นครูสอนศิลปะแกะสลักที่โรงแรมดังหลายแห่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งไทยและต่างชาติที่บินมาเรียนกันถึงที่บ้าน ทั้งยังเขียนตำรับตำราไว้มากมาย เช่น ศิลปะการแกะสลักผักและ ผลไม้ อาหารวิจิตรและแกะสลักวิจิตร ฯลฯ

นอกจากนี้ มีงานที่ตรึงใจอย่าง "โคมลอย พระราชพิธีจองเปรียง" รวมถึงสารา นุกรมไทยสำหรับ เยาวชน เล่มที่ 13 โดย พระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น